เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
สามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าสามยิกวิโมกข์ (47)
อสามยิกวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าอสามยิกวิโมกข์ (48)
กุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่ากุปปวิโมกข์ (49)
อกุปปวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าอกุปปวิโมกข์ (50)
โลกียวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าโลกียวิโมกข์ (51)
โลกุตตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าโลกุตตรวิโมกข์ (52)
สาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าสาสววิโมกข์ (53)
อนาสววิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าอนาสววิโมกข์ (54)
สามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์อันประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่าสามิสวิโมกข์ (55)
นิรามิสวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ วิโมกข์ที่ไม่ประกอบด้วยรูป นี้ชื่อว่านิรามิสวิโมกข์ (56)
นิรามิสานิรามิสตรวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่านิรามิสานิรามิสตร-
วิโมกข์ (57)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :354 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 5. วิโมกขกถา นิทเทส
ปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าปณิหิตวิโมกข์
อัปปณิหิตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ (58)
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ การได้ปฐมฌานหรือวิบากแห่งปฐมฌาน ฯลฯ การได้เนวสัญญา-
นาสัญญายตนสมาบัติ หรือวิบากแห่งเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่า
ปณิหิตัปปฏิปัสสัทธิวิโมกข์ (59)
สัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่าสัญญุตตวิโมกข์ (60)
วิสัญญุตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าวิสัญญุตตวิโมกข์ (61)
เอกัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ อริยมรรค 4 สามัญญผล 4 และนิพพาน นี้ชื่อว่าเอกัตตวิโมกข์ (62)
นานัตตวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ ฌาน 4 และอรูปสมาบัติ 4 นี้ชื่อว่านานัตตวิโมกข์ (63)
[214] สัญญาวิโมกข์ เป็นอย่างไร
คือ สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญา-
วิโมกข์ 1 ด้วยอำนาจวัตถุ1 (และ) ด้วยปริยาย2

เชิงอรรถ :
1 สัญญาวิโมกข์ 1 เป็นสัญญาวิโมกข์ 10 ด้วยอำนาจวัตถุ หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ 10 ด้วยอำนาจ
วัตถุ 10 มีนิจจสัญญาเป็นต้น (ขุ.ป.อ.2/214/183-4)
2 สัญญาวิโมกข์ 10 เป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วยปริยาย หมายถึงเป็นสัญญาวิโมกข์ 1 ด้วยการพ้นจาก
สัญญานั้น (ขุ.ป.อ.2/214/183-4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :355 }